Alien Registration Stamps

อากรแสตมป์ที่มีการใช้สำหรับเอกสารทะเบียนต่างด้าว

ชุดที่ 1 First Issue 1938

ออกแบบโดยบริษัท Waterlow & Sons (ขนาดฟัน 12½)  โดยมีการเริ่มต้นออกแบบกรอบ(frame) ของอากรแสตมป์ ราคา 4 บาท ในปี 1934thailand_alien_registration_tax_issue1

thailand_Alien_bookหน้าปกหนังสือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวalial_taxเอกสารใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ติดอากรทะเบียนต่างด้าว ชนิดราคา 4 บาท สำหรับต่ออายุชนิดที่ 1 ปี พ.ศ. 2483-2484Thailand_Alien_Registration_Stamps_4B_on_Documentอากรทะเบียนต่างด้าว ชนิดราคา 4 บาท – พิมพ์โดย Waterlow & Sons  (จำนวน 2 ดวง) รวมเป็นเงิน 8 บาท ติดอากรบนเอกสารใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว  สำหรับต่ออายุชนิดที่ 1 ใน พ.ศ. 2490-2491

_thai_alien_registraton_tax_provisional_20เอกสารใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ติดอากรทะเบียนต่างด้าว ชนิดราคา 20 บาท ซึ่งนำอากรทะเบียนต่างด้าวชนิดราคา 4 บาท มาแก้ราคา สำหรับต่ออายุชนิดที่ 1 ใน พ.ศ. 2483-2484 โดยดำเนินการที่สถานีตำรวจนครบาลจักรวรรดิ์

Thailand_Alien_Registration_Stamps_20Bx4_on_Documentเอกสารใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ติดอากรทะเบียนต่างด้าว ชนิดราคา 20 บาท (จำนวน 4 ดวง) สำหรับเสียค่าธรรมเนียมต่ออายุชนิดที่ 2 ใน พ.ศ. 2498-2499 ซึ่งดำเนินการที่ สน.บุปผาราม

_thai_alien_registraton_tax_provisional_5_200
เอกสารใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ติดอากรทะเบียนต่างด้าว รวมมูลค่า 400 บาท ซึ่งติดอากรราคา 200 บาท แก้จากราคา 5 บาท จำนวน 2 ดวง โดยนำเอาอากรทะเบียนต่างด้าวชนิดราคา 1 บาท มาแก้ราคา สำหรับต่ออายุชนิดที่ 1 ใน พ.ศ. 2498-2499thai_alien_registraton_documentthailand-alien-registration-revenue-400b
เอกสารใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ติดอากรทะเบียนต่างด้าว ราคา 400 บาท แก้จากราคา 20 บาท โดยนำเอาอากรทะเบียนต่างด้าวชนิดราคา 4 บาท มาแก้ราคา สำหรับต่ออายุชนิดที่ 1 ใน พ.ศ. 2498-2499

ตัวอย่างก่อนพิมพ์
thailand_alien_registration_proof_4bตัวอย่างทดลองพิมพ์กรอบและข้อความกับราคาของอากรทะเบียนต่างด้าว ชนิดราคา 4 บาท ซึ่งจะไม่มีการพิมพ์รูปด้านในกรอบโดยเป็นพื้นที่ว่างสีขาว

thailand_alien_registration_proof_400bตัวอย่างอากรทะเบียนต่างด้าว ชนิดราคา 400 บาท  ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานเนื่องจากมีการลดค่าธรรมเนียมคนต่างด้าวจาก 400 บาท มาเป็น 200 บาท

ชุดชั่วคราว Provisional Issue – June 1952

เป็นการนำอากรแสตมป์ฤชากร ชุดที่ 2 “ช้างเอราวัณ” ชนิดราคา 1 บาท, 4 บาท มาพิมพ์ทับด้วยข้อความ “แสตมป์อากรทะเบียนต่างด้าว“, ชนิดราคา 10 สตางค์ มาขีดฆ่าและพิมพ์ทับด้วยข้อความ “แสตมป์อากรทะเบียนต่างด้าว ๔.๐๐ บาท“, ชนิดราคา 1 สตางค์ มาขีดฆ่าและพิมพ์ทับด้วยข้อความ “แสตมป์อากรทะเบียนต่างด้าว ๒๐  บาท” และชนิดราคา  1 บาท มาขีดฆ่าและพิมพ์ทับด้วยข้อความ “แสตมป์อากรทะเบียนต่างด้าว ๑๐๐  บาทthailand_alien_registration_tax_1938-1954

thai_alien_registraton_tax_docเอกสารใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ติดอากรแสตมป์ ราคา 4 บาท โดยนำอากรแสตมป์ฤชากร ชุดที่ 2 ชิดราคา 4 บาท มาพิมพ์ทับด้วยข้อความ “แสตมป์อากรทะเบียนต่างด้าว”  สำหรับเสียค่าธรรมเนียมสำหรับต่ออายุ ใน พ.ศ. 2492-2493

Thailand_Alien_Registration_Stamps_on_Documentเอกสารใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ติดอากรทะเบียนต่างด้าว ราคา 200 บาท แก้จากราคา 5 บาท โดยนำอากรทะเบียนต่างด้าวชนิดราคา 1 บาท มาแก้ราคา (จำนวน 1 ดวง)  และติดอากรแสตมป์ฤชากร ชุดที่ 2 ชนิดราคา 1 สตางค์ มาพิมพ์ทับด้วยข้อความ “แสตมป์อากรทะเบียนต่างด้าว ๒๐ บาท” (จำนวน 2 ดวง)  และติดอากรแสตมป์ฤชากร ชุดที่ 2 ชนิดราคา 1 บาท มาพิมพ์ทับด้วยข้อความ “แสตมป์อากรทะเบียนต่างด้าว ๑๐๐ บาท” (จำนวน 1 ดวง) รวมเป็นเงินทั้งหมด 340 บาท   สำหรับเสียค่าธรรมเนียมต่ออายุชนิดที่ 1 ใน พ.ศ. 2495-2496 โดยดำเนินการที่ สน.บุปผาราม

ชุดที่ 2 Second Issue 1954

พิมพ์โดย Bradbury Wilkinson, London – ออกแบบเมื่อ 20 December 1953thailand_alien_registration_tax_issue2thai_alien_registraton_tax_2issue_doc.pngเอกสารใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ติดอากรต่างด้าว ชนิดราคา 100 บาท (2 ดวงคู่) และ 200 บาท สำหรับต่ออายุ ปีละ 200 บาท (มีการเจาะรูในอากรแต่ละดวง)

ค่าธรรมเนียมคนต่างด้าว

มีนาคม พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939 ) รัฐบาลสยามใช้ประมวลรัษฎากร แบบใหม่ ยกเลิกการเก็บค่ารัชชูปการ (คำว่า รัชชูปการ หมายถึง เงินช่วยราชการ ตามที่กำหนดเรียกเก็บจากราษฎรชาย ที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล) ทั้งคนไทยและจีน สำหรับคนจีนให้ชำระ “ค่าธรรมเนียมคนต่างด้าว” แทน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 เป็นต้นไป คนเชื้อชาติจีนทุกคน ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมคนต่างด้าว ครั้งแรกปีละ 4 บาท ให้ไปชำระที่สถานีตำรวจ (โรงพัก)

ค่าธรรมเนียมคนต่างด้าว (ส่วนมากเก็บจากคนจีน จากคนชาติอื่นๆ มีจำนวนน้อยมาก) มีการปรับเปลี่ยนหลายครั้ง :
1. พ.ศ. 2482 (1939) เก็บปีละ 4 บาท
2. พ.ศ. 2489 (1946) เก็บปีละ 8 บาท
3. พ.ศ. 2493 (1950) เก็บปีละ 20 บาท
4. พ.ศ. 2494 (1951) เก็บปีละ 80 บาท
5. พ.ศ. 2495 (1952) เก็บปีละ 400 บาท
6. พ.ศ. 2498 (1955) ถึง พ.ศ. 2538 (1995) เก็บปีละ 200 บาท

จากสถิติการเก็บค่าธรรมเนียมคนต่างด้าว ข้างต้น จะเห็นได้ว่า รับบาลไทยเริ่มใช้ใบต่างด้าวสำหรับคนจีน ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้นำรับบาล ( เป็นนายกรับมนตรี ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2481 ) โดยเก็บปีละ 4 บาท  ** หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เพิ่มอัตราหลายครั้ง จนถึงปีละ 80 บาท

หลังจากประเทศจีน เปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งใหญ่ มาเป็นรัฐบาลคอมมูนิสต์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ความเป็นมิตรของรัฐบาลไทย กับคนจีนลดลง รัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เพิ่มค่าธรรมเนียมคนต่างด้าว จาก 80 บาท เป็น 400 บาทต่อปี ( ทั้งๆ ที่กระทรวงการคลังเสนอมา 200 บาทต่อปี ) มีการประท้วงจากรับบาลจีนคณะชาติ ซึ่งยังมีความสัมพันธไมตรี กับไทยอยู่ในขณะนั้น แต่ก็ไร้ผล

.. ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2498 หลังจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม กลับจากการเดินทางรอบโลก การบีบคั้นของรัฐบาลต่อคนจีนในไทยลดลง มีความปรองดอง ระหว่างนักธุรกิจจีน กับข้าราชการไทยมากขึ้น มีการประกาศพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2499 ให้ลดค่าธรรมเนียมคนต่างด้าวจาก 400 บาท มาเป็น 200 บาท และระงับการเก็บค่าธรรมเนียมย้อนหลัง จากผู้ที่ยังติดค้างอยู่ อัตราปีละ 200 บาทนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลง ใช้จนถึงปัจจุบัน

สถานที่ขึ้นทะเบียนคนต่างด้าว และจัดเก็บค่าธรรมเนียม เป็นหน้าที่ของสถานีตำรวจท้องถิ่น ที่ที่คนจีนผู้นั้นพำนักอยู่ เมื่อครบกำหนด จะต้องไปชำระเงิน ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะผนึกอากรทะเบียนต่างด้าว บนใบสำคัญต่ออายุ และจดบันทึก ตำรวจจัดส่งเงินรายได้ ตามอากรที่เบิกมาใช้ไปจากกระทรวงการคลัง โดยผ่านกองทะเบียนคนต่างด้าว และภาษีอากร ของกรมตำรวจ (หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบัน )

เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ทางราชการได้ยกเลิก การผนึกอากรบนใบสำคัญต่ออายุแล้ว เพียงแต่บันทึกการชำระค่าลงทะเบียนไว้เท่านั้น

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก: จากผูกปี้ ถึง ใบต่างด้าว.. ( เรื่องเล่าจากแสตมป์ ) 

Advertisement