หอรัษฎากรพิพัฒน์

thailand_old_logoพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ ในวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๖ เพื่อจัดวางหลักเกณฑ์ระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นระเบียบมีแบบแผน ควบคุมเจ้าภาษีอากร ให้จัดส่งเงินรายได้แผ่นดินให้ตรงตามกำหนดเวลา ถ้าผู้ใดละเมิดระเบียบแบบแผนการจัดส่งเงินภาษีอากรจะถูกลงโทษอย่างเฉียบขาด โดยทรงแต่งตั้งให้เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี เป็นผู้รับผิดชอบโดยมีเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรรักษ์ (พระปิตุลา) เสนาบดีคลังเป็นที่ปรึกษา และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงควบคุมใกล้ชิด1444382887ต่อมาตั้งกรมบัญชีกลาง ซึ่งมีหน้าที่รวบรวมพระราชทรัพย์ที่เป็นรายได้ส่งพระคลัง ผู้ที่มีตำแหน่งทำงานในหอรัษฎากรพิพัฒน์ต้องทำงาน ณ สำนักงานตามเวลาทุกวันโดยมีเงินเดือนตอบแทน การปฏิรูปการคลังนี้เป็นการควบคุมรายได้ของรัฐให้เข้าสู่พระคลังอย่างเต็มที่ทำให้ผู้ที่รับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีอากรที่ปฏิบัติหน้าที่เฉื่อยชาหละหลวมหรือทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้นเดือดร้อน และการปฏิรูปการคลังได้ประสบผลสำเร้จมากขึ้นเมื่อมีการตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเพราะงานแรกของสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินคือตรวจสอบชำระภาษีของเสนาบดีกรมนาในคดีพระยาอาหารบริรักษ์ และการออกกฎหมายพระราชบัญญัติต่างๆ

12112079_1048746858471753_524332298224205571_n

หอรัษฎากรพิพัฒน์ อาคารรูปแบบตะวันตกถูกสร้างขึ้นโดยช่างชาวอิตาเลียนในสมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างอาคาร ๒ ชั้นเป็นแถวยาวเมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๓ เพื่อเป็นที่ทำการกรมพระคลังมหาสมบัติ  ต่อมาอาคารนี้ได้กลายเป็นที่ทำการของหน่วยงานอย่างน้อย ๔ หน่วยงาน จนในพุทธศักราช ๒๕๔๖ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานพระราชานุญาต ใช้อาคารหอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

s-l500xd

แหล่งข้อมูล:  Queen Sirikit Museum of Textiles

Advertisement

One thought on “หอรัษฎากรพิพัฒน์

การแสดงความเห็นถูกปิด