Occupation stamps

History of Thai Occupation of Malaya (ไทยยึดครองมาลายู)

นับจากสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยอ้างสิทธิคุ้มครองเหนือรัฐมลายูทั้ง 4 คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานูและปะลิส โดยใช้วิธีปกครองแบบเมืองประเทศราช ให้สุลต่านของแต่ละรัฐปกครองกันเอง แต่จะต้องส่งบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์ไทย ตามกำหนดเวลา 3 ปีต่อครั้ง โดยที่ฝ่ายไทยมีอำนาจควบคุมการต่างประเทศ และให้ความช่วยเหลือแก่รัฐเหล่านี้ในกรณีที่ถูกรุกรานจากชาติอื่น ในระยะเวลาก่อน พ.ศ. 2443 รัฐบาลอังกฤษซึ่งเริ่มเข้ามามีอำนาจทางแหลมมลายูก็ยอมรับสิทธิของไทย

สิทธิการครอบครองตามสนธิสัญญาเบอร์นีย์สิ้นสุดลงเมื่ออังกฤษและไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาแองโกล-สยาม หรือสนธิสัญญากรุงเทพ (Bangkok Treaty หรือ Anglo-Siamese Treaty 1909) ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนดินแดนระหว่างกัน โดยอังกฤษยกเมืองสงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาสให้เป็นของสยาม และอังกฤษได้เมืองเคดาห์ กลันตัน และตรังกานู ส่วนเปอร์ลิสและสตูลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเคดาห์ ให้เปอร์ลิสเป็นของอังกฤษ ส่วนสตูลเป็นของสยาม รัฐเหล่านี้ก่อนได้รับเอกราชแม้จะมีสุลต่านเป็นผู้ปกครอง แต่มีข้าหลวงอังกฤษทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่สุลต่าน

แสตมป์ชุดสี่รัฐ

จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อใช้เฉพาะใน 4 รัฐ คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และ ปลิศ ในโอกาสที่ได้ยได้ 4 รัฐนี้คืนจากอังกฤษในระยะต้นๆ ของสงครามโลกครั้งที่ 2 และถูกคืนกลับไปเป็ของอังกฤษอีกครั้งใน พ.ศ. 2488

วันแรกจำหน่าย:
กลันตรัง 2 เซนต์ – 15 มกราคม 2487,
กลันตรัง 1,3, 4, 8 และ 15 เซนต์ – 4 มีนาคม 2487,
ตรังกานู 1, 4 และ 8 เซนต์ – 4 เมษายน 2487,
ตรังกานู 15 เซนต์ – 2 พฤษภาคม 2487
รอยปรุ: 11,12×111/2 หรือ 121/2
จำนวนดวงในแผ่น: 100 ดวง
ชนิดราคา จำนวนพิมพ์และสี:
1 เซนต์ 168,000 ดวง สีเหลือง
2 เซนต์ 370,000 ดวง สีน้ำตาล
3 เซนต์ 88,000 ดวง สีเขียว
4 เซนต์ 226,000 ดวง สีม่วง
8 เซนต์ 380,000 ดวง สีแดง
15 เซนต์ 114,000 ดวง สีน้ำเงิน
ภาพ: อนุสาวรีย์ทหานอาสา  ขนาด: 25 x 20 มม.
ผู้ออกแบบ: กรมไปรษณีย์โทรเลข
พิมพ์ที่: กรมแผนที่ทหารบก

Image 14แสตมป์ครบชุด 6 ดวง ชนิดราคา 1, 2, 3, 4, 8 และ 15 เซนต์

thailand_occupation_trunganu_censors-l1600 (4)แสตมป์ครบชุด 6 ดวง ประทับตรา “Trengganu” (1945)

thailand_occupationแสตมป์ครบชุด (บล็อก 4 ดวง) ราคา 1, 2, 3, 4, 8 และ 15 เซนต์

thailand_occupation_block4_canclethailand_occupation_2centsแสตมป์ บล็อก 4 ดวง ชนิด 1 เซนต์, 2 เซนต์ และ 3 เซนต์ ประทับตรา “Trengganu” (1945)

thailand_occupation_AlorStarแสตมป์ ชนิด 2 เซนต์ ประทับตรา “Alor Star”

Thailand_Occupation_2cents_Dunkun_Trengganuแสตมป์ ชนิด 2 เซนต์ ประทับตรา “Dunkun Trengganu”

thai_occupation_coverไปรษณียบัตรพิมพ์แสตมป์ราคา 4 เซนต์ ที่มุมด้านล่างแสดงชื่อโรงพิมพ์ “กรมแผนที่”thailand_occupation_coverซองจดหมายส่งจาก อลอร์สตาร์ เมืองหลวง รัฐเกอดะห์ ถึง ปีนัง ผนึกแสตมป์ ชุดสี่รัฐ ราคา 8 เซนต์ ประทับตรา แบบภาษาอังกฤษคู่  พร้อมด้วย แบบ Boxed Censored GPO Alor Star ทำเครื่องหมายสีม่วง และ แบบญี่ปุ่น หมายเลข 6 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

thailand_occupation_1bแสตมป์ชนิดราคา 1 เซนต์ (2 ดวง) ที่แถบด้านล่างแสดงชื่อโรงพิมพ์ “พิมพ์ที่กรมแผนที่”
thai_occupation_block6แสตมป์ชนิดราคา 2 เซนต์ (บล็อก 6 ดวง)

thailand_occupation_cover_example1thailand_occupation_postcard_example1

หมายเหตุ: ไทยได้รับมอบดินแดน 4 รัฐ มลายู จากญี่ปุ่น ซึ่งหนึ่งในสี่รัฐ นั้นคือรัฐ Kedah ไทยได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Syburi ระหว่างยึดครอง (วันที่ 20 ส.ค.2486 ถึง 23 ก.ย. 2488)

15043_220038458148285_1905110358_nอนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 ตั้งอยู่ ณ มุมสนามหลวงด้านเหนือ พระบรมมหาราชวัง พระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1
     ตั้งอยู่ ณ มุมสนามหลวงด้านเหนือ เป็นอนุสรณ์แก่ทหารไทยที่ไปร่วมรบในสมรภูมิ ยุโรป เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2457 ประเทศไทยได้ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศสงครามกับเยอรมัน และได้ส่งทหารอาสาไปในสมรภูมิในยุโรป เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ได้เดินทางกลับ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2462 และได้นำอัฐิทหารอาสาที่เสียชีวิตมาบรรจุ ณ อนุสาวรีย์นี้ เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2462 ตั้งอยู่ ณ มุมสนามหลวงด้านเหนือ เป็นอนุสรณ์แก่ทหารไทยที่ไปร่วมรบในสมรภูมิ ยุโรป เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2457 ประเทศไทยได้ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศสงครามกับเยอรมัน และได้ส่งทหารอาสาไปในสมรภูมิในยุโรป เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ได้เดินทางกลับ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2462 และได้นำอัฐิทหารอาสาที่เสียชีวิตมาบรรจุ ณ อนุสาวรีย์นี้ เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2462

แหล่งข้อมูล: http://www.painaidii.com/business/116436/world-1-monument-102000/lang/th/


Trengganu (ตรังกานู)

      ตรังกานู ในศตวรรษที่ 18 ตรังกานูเป็นรัฐอิสระที่มีสุลต่านซึ่งสืบเชื้อสายจากยะโฮร์เป็นผู้ปกครอง ในศตวรรษที่ 19 ตรังกานูเป็นประเทศราชของสยามและส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายทุกปี

แสตมป์ชุด “ไทยยึดครองมาลายู – ตรังกานู” (2486) Thailand Siam revenues fiscals occupation of Trengganu October 1943 – 24 September 1945 complete set of 15 stamps. Mint with no gum as issued. The high values in the set are very rare.  So called ship issue with quite recently also a few values found used.

thailand_occupation_trunganu


Kedah (Syburi) (ไทรบุรี)

      เคดาห์ ซึ่งไทยเรียกว่ามีพรมแดนติดต่อจังหวัดสงขลาของไทย ในช่วงศตวรรษที่ 7 และ 8 ไทรบุรีอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัย และต่อมาเป็นเมืองขึ้นของไทย ดังที่กล่าวมาข้างต้น ในปี 1776 ไทรบุรียอมให้อังกฤษเช่าเกาะปีนัง เพื่อแลกกับการคุ้มครองจากอังกฤษเพื่อให้หลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของสยาม อย่างไรก็ตามไทรบุรีเป็นเมืองขึ้นของสยามจนถึงปี ค.ศ. 1811 และอยู่ภายใต้การควบคุมของไทยจนกระทั่งมีการลงนามในสนธิสัญญากรุงเทพ ในปี 1909  (October 1943 – 22 September 1945)

thailand_occupation_sryburi
Post card ประทับตรา “ไทรบุรี” Kedah เมื่อวันที่ 5-11-1907 ส่งไปประเทศนอร์เวย์ (ขอบคุณรูปภาพจาก ebay.com)Kedah_postcard_syburi


Kelantan (กลันตัน)

      กลันตัน เป็นรัฐที่มีพรมแดนติดต่อกับจังหวัดนราธิวาสของไทย เป็นเมืองขึ้นเก่าแก่ของไทย ในปี 1411 กลันตันหลุดจากการเป็นเมืองขึ้นของไทย และในปี 1499 เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมะละกา แต่เมื่อโปรตุเกสครอบครองมะละกา กลันตันอยู่ภายใต้อาณัติของปัตตานี และในปี 1812 ก็กลับมาอยู่ในอาณัติของประเทศไทย (October 1943 – 9 September 1945)

thailand_occupation_kuntan_2584870-000000ตราอาร์มประจำรัฐกลันตันหมึกสีแดงเป็นอากร

thailand_occupation_kelantan_1943หมึกสีม่วงใช้เป็นแสตมป์

thailand_kelantan_1908

thailand_postcard_kelantan_1909SIAM/ POSTAL CARD SEND FROM KOTA BHARU KELATAN TO DENMARK 1909


Perlis

      เปอร์ลิส ซึ่งไทยเรียกว่า ปะลิส เป็นรัฐที่มีพรมแดนติดต่อกับจังหวัดสตูลและสงขลาของไทย ในอดีตเปอร์ลิสเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเคดาห์ซึ่งผลัดกันปกครองโดยอาเจะห์และสยาม หลังจากที่เคดาห์กลับมาเป็นของไทยในปี 1821 เนื่องจากอังกฤษเกรงว่าผลประโยชน์ของตนในเปรัคจะถูกคุกคาม ในปี 1826 ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นีย์ (Burney Treaty 1826) โดยอังกฤษยอมรับว่ารัฐทั้งสี่ในภาคเหนือของคาบสมุทรมลายู ได้แก่ เคดาห์ เปอร์ลิส กลันตัน และตรังกานู เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม และสยามยอมรับว่าอังกฤษเป็นเจ้าของเกาะปีนัง อีกทั้งให้สิทธิ์อังกฤษในการค้าขายในกลันตันและตรังกานู ผลของสนธิสัญญานี้ทำให้ในปี 1842 สุลต่าน อาห์เหม็ด (Sultan Ahamad Tajuddin Mukarram Shah, 1854-1879) แห่งเคดาห์ ซึ่งถูกเนรเทศและต่อต้านสยามอยู่ถึง 12 ปี (1830-1842) จำยอมรับเงื่อนไขและกลับมาครองบัลลังก์ หลังจากนั้นสยามได้แยกเปอร์ลิสออกจากเคดาห์

Image 152DSC_0533c

ที่มาของการเจรจาทางการทูตระหว่างไทยกับอังกฤษ อันเป็นผลให้ไทยต้องสูญเสียดินแดนมลายูทั้ง 4 รัฐ (ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส) ให้กับอังกฤษ โดยเอ็ดเวิร์ด เอช. สโตรเบล ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินชาวอเมริกัน เสนอให้ไทยแลกหัวเมืองมลายู พร้อมกับขอกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปสร้างทางรถไฟสายใต้ แก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และบรรดาเสนาบดีในสมัยนั้นว่าการยกดินแดนมลายูให้อังกฤษนั้น จะทำให้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับดินแดนเหล่านี้หมด

1359583203-4-oแผนที่แสดงดินแดนหัวเมืองมลายูทั้ง 4 อันได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส รวมพื้นที่ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร ที่ไทยได้ยกให้อังกฤษไปตาม “สนธิสัญญากรุงเทพฯ” โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา เทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ และนายราฟ แพชยิต ราชทูตอังกฤษประจำกรุงเทพฯ เป็นผู้ลงนาม เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451

แหล่งข้อมูล: http://www.tri.chula.ac.th/triresearch/malau/malau.html, https://pantip.com/topic/31998866


– ประวัติศาสตร์นอกตำรา https://youtu.be/k3voLUXbHww ต้องขอขอบคุณพี่ Donald Yeow (FB: https://www.facebook.com/mamegoma.os) ที่แนะนำครับ 🙂

Advertisement