Kelantan (กลันตัน)

แสตมป์ชุด “ไทยยึดครองรัฐกลันตัน”
      รัฐกลันตันเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรปัตตานี ซึ่งประกอบด้วย ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู เป็นประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นเช่นเดียวกัน เมืองไทรบุรีได้ส่งเครื่องบรรณาการมาถวายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หัวเมืองมลายูมีฐานะเป็นประเทศราชของไทย จึงมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการพร้อมด้วยต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาถวายพระมหากษัตริย์อยุธยา 3 ปีต่อครั้ง ถ้าหากอยุธยาต้องการความช่วยเหลือทางทหารหรืออาวุธกระสุนดินดำ หัวเมืองมลายูจะต้องจัดหาให้ตามที่ต้องการ ส่วนอยุธยามีภาระผูกพันในการดูแลความสงบเรียบร้อยของหัวเมืองมลายู หากหัวเมืองมลายูได้รับความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติหรือถูกรุกรานจากศัตรู อยุธยามีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ (มีบางช่วงเมื่ออยุธยาอ่อนแอหัวเมืองเหล่านี้ที่มีการแข็งเมืองเกิดขึ้นบ้าง)

      แต่เมื่อถึงสมัย ร.5 เราได้สูญเสียดินแดนนี้ให้กับอังกฤษ (เป็นการเสียดินแดน ครั้งที่ ๑๓) เสียรัฐกลันตัน,ตรังกานู,ไทรบุรี, ปริส เมื่อ ๑๐ มีนาคม ๒๔๕๑ พื้นที่ ๘๐,๐๐๐ ตร.กม. สยามได้ทำสัญญากับอังกฤษ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ศาลไทยที่จะบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษในสยาม ต่อมาเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาเกิดขึ้น (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) ไทยได้รับดินแดนส่วนนี้คืนจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ได้ลงนามยอมรับว่าดินแดนส่วนนี้เป็นของไทย (ส่งมอบวันที่ 20 สิงหาคม) รัฐมาลัยที่อังกฤษเคยแย่งชิงไปจากไทยจึงตกมาอยู่ในครอบครองของไทยอีกครั้ง รัฐบาลไทยได้ส่งข้าหลวงใหญ่ทหารไปประจำทุกรัฐในสี่รัฐมาลัย โดยขึ้นตรงต่อผู้บังคับบัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ ๓ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๘๖ นายพลฮิเดกิ โตโนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อดำเนินการส่งมอบดินแดนหกรัฐคืนให้แก่รัฐบาลไทย อันประกอบด้วยเชียงตุง และเมืองพานในรัฐฉานของพม่า กลันตัน ตรังกานู ปะลิส และเกดะห์ในแหลมมลายู อันเป็นดินแดนซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลไทยในอดีต ซึ่งได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มาตั้งแต่รัชสมัย ร.5 เพื่อเป็นการตอบแทนที่รัฐบาลไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับประเทศญี่ปุ่น และยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยได้โดยสะดวก เมื่อรัฐบาลไทยได้รับมอบดินแดนสี่รัฐในแหลมมลายูแล้ว ก็ได้ประกาศรวมเอากลันตัน ตรังกานู ปะลิส และเกดะห์ (ไทรบุรี) เข้าไว้ในราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ กำเนิดแสตมป์ชุด ไทยยึดครองรัฐกลันตัน

584870-000000ตราอาร์มประจำรัฐกลันตันหมึกสีแดงเป็นอากร

thailand_occupation_kelantan_1943หมึกสีม่วงใช้เป็นแสตมป์

      ต่อมา ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ข้าหลวงไทยประจำรัฐกลันตันมีคำสั่งให้ ดาโต๊ะ เสรี เสเตีย (นิก กามิล) ผู้ซึ่งภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็น “เมนตรีเมซา” (นายกรัฐมนตรีของรัฐกลันตัน) จัดพิมพ์แสตมป์ขึ้นใช้เองเรียกว่า “แสตมป์ชุดไทยยึดครองรัฐกลันตัน” ประกอบด้วยชนิดราคา ๑, ๒, ๔, ๘ และ ๑๐ เซนต์ อันเป็นหน่วยเงินมลายู แสตมป์ชุดไทยยึดครองรัฐกลันตัน (ชุดที่ ๑)ได้รับการพิมพ์ที่โรงพิมพ์ของรัฐกลันตัน ด้วยกระดาษสีขาวที่ใช้ในราชการช่วงสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งผลิตโดยคราวน์เอเย่นต์ (Crown Agent) ประเทศอังกฤษ ด้านบนพิมพ์ชื่อรัฐเป็นตัวอักษรอาหรับภาษามลายู และด้านล่างพิมพ์บอกชนิดราคาด้วยหมึกสีดำ ปรุรู ขนาด ๑๑  ด้านหลังไม่มีกาว แต่มีลายน้ำเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ คำว่า “(Crown Agent)” และ “Standard” เป็นรูปไข่ (Oval) ใน ๑ แผ่นมีแสตมป์ทั้งสิ้น ๘๔ ดวง โดยแต่ละแผ่นจะมีลายน้ำปรากฏอยู่ ๔ แห่ง และมีลายน้ำรูปไข่อยู่ ๑ รูปเสมอ ซึ่งมักปรากฏให้เห็นในแสตมป์บล็อค ๖ ดวง ส่วนแสตมป์ดวงที่เหลือจะไม่มีลายน้ำ เนื่องจากอยู่ในตำแหน่งนอกลายน้ำของทั้ง ๔ แห่ง แสตมป์ชุดไทยยึดครองรัฐกลันตันนี้ถือเป็นแสตมป์ไทยเพียงชุดเดียวที่ไม่มีตัวอักษรไทยปรากฏอยู่บนหน้าดวง หลังจากโรงพิมพ์ของรัฐกลันตันพิมพ์แสตมป์ชุดนี้เสร็จแล้ว ก็จะนำมาให้ ดาโต๊ะ เสรี เสเตีย ยังกองคลังของรัฐ ซึ่งจะมีเสมียนนายหนึ่งนั่งอยู่ใกล้ๆ กันกับท่านดาโต๊ะ คอยทำหน้าที่ประทับตราอาร์มประจำรัฐกลันตันด้วยตรายางลงบริเวณพื้นที่ว่างตรงกลางของแสตมป์แต่ละดวงด้วยหมึกสีม่วง แสตมป์ชุดไทยยึดครองรัฐกลันตัน ถูกนำออกจำหน่ายยังที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขของรัฐกลันตัน เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๖ แต่เมื่อรัฐบาลไทยทราบเรื่องก็ได้สั่งให้ระงับใช้แสตมป์ชุดดังกล่าวนี้เสีย (ตราอาร์มประจำรัฐกลันตันหมึกสีแดงเป็นอากร สีม่วงใช้เป็นแสตมป์)thailand_occupation_kuntan_2          สำหรับในการจัดพิมพ์อากรแสตมป์รัฐกลันตัน ชุดที่ ๒ รัฐบาลไทยได้อาศัยแสตมป์สุลต่านแห่งรัฐกลันตัน ชนิดราคา ๑๒ เซ็นต์ เป็นต้นแบบในการแกะแม่พิมพ์เป็นภาพบุคคลสำคัญ เข้าใจว่าเป็นภาพของสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน ในช่วงที่ถูกกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครอง ด้านล่างเป็นอักษรอาหรับ ส่วนด้านบนมีคำว่า“รัถกลันตัน” โดยสะกดคำตามแบบอักขรวิบัติในสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อสงครามโลกครั้งที่๒ ยุติลง รัฐบาลไทยประกาศว่ามิได้มีภาวะสงครามอันแท้จริงกับประเทศอังกฤษ จึงจำต้องส่งคืนดินแดนสี่รัฐในแหลมมลายูให้กับรัฐบาลอังกฤษตาม “ความตกลงสมบูรณ์แบบ เพื่อยุติภาวะสงคราม ระหว่างสยาม อังกฤษ และอินเดีย” ในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๙ การคืนดินแดนให้อังกฤษและไทยต้องส่งข้าวจำนวน 1.5 ล้านตันให้อังกฤษโดยไม่คิดมูลค่า การครอบครองสี่รัฐมาลัยของไทยเป็นอันสิ้นสุดลงโดยข้าหลวงใหญ่ประจำสี่รัฐมาลัยได้ทำพิธีมอบสี่รัฐมาลัยคืนให้กับฝ่ายทหารอังกฤษ เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2488 ปัจจุบันรัฐกลันตันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย  ส่งผลให้แสตมป์ อากรแสตมป์ และไปรษณียบัตรของรัฐไทยในแหลมมลายูจำต้องยุติการใช้ไปโดยปริยาย

ขอขอบคุณข้อมูล ::

=====================

Kelantan (กลันตัน)
กลันตัน เป็นรัฐที่มีพรมแดนติดต่อกับจังหวัดนราธิวาสของไทย เป็นเมืองขึ้นเก่าแก่ของไทย ในปี 1411 กลันตันหลุดจากการเป็นเมืองขึ้นของไทย และในปี 1499 เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมะละกา แต่เมื่อโปรตุเกสครอบครองมะละกา กลันตันอยู่ภายใต้อาณัติของปัตตานี และในปี 1812 ก็กลับมาอยู่ในอาณัติของประเทศไทย (October 1943 – 9 September 1945)

Advertisement