Perlis
เปอร์ลิส ซึ่งไทยเรียกว่า ปะลิส เป็นรัฐที่มีพรมแดนติดต่อกับจังหวัดสตูลและสงขลาของไทย ในอดีตเปอร์ลิสเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเคดาห์ซึ่งผลัดกันปกครองโดยอาเจะห์และสยาม หลังจากที่เคดาห์กลับมาเป็นของไทยในปี 1821 เนื่องจากอังกฤษเกรงว่าผลประโยชน์ของตนในเปรัคจะถูกคุกคาม ในปี 1826 ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นีย์ (Burney Treaty 1826) โดยอังกฤษยอมรับว่ารัฐทั้งสี่ในภาคเหนือของคาบสมุทรมลายู ได้แก่ เคดาห์ เปอร์ลิส กลันตัน และตรังกานู เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม และสยามยอมรับว่าอังกฤษเป็นเจ้าของเกาะปีนัง อีกทั้งให้สิทธิ์อังกฤษในการค้าขายในกลันตันและตรังกานู ผลของสนธิสัญญานี้ทำให้ในปี 1842 สุลต่าน อาห์เหม็ด (Sultan Ahamad Tajuddin Mukarram Shah, 1854-1879) แห่งเคดาห์ ซึ่งถูกเนรเทศและต่อต้านสยามอยู่ถึง 12 ปี (1830-1842) จำยอมรับเงื่อนไขและกลับมาครองบัลลังก์ หลังจากนั้นสยามได้แยกเปอร์ลิสออกจากเคดาห์
ที่มาของการเจรจาทางการทูตระหว่างไทยกับอังกฤษ อันเป็นผลให้ไทยต้องสูญเสียดินแดนมลายูทั้ง 4 รัฐ ให้กับอังกฤษ โดยเอ็ดเวิร์ด เอช. สโตรเบล ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินชาวอเมริกัน เสนอให้ไทยแลกหัวเมืองมลายู พร้อมกับขอกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปสร้างทางรถไฟสายใต้
แก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และบรรดาเสนาบดีในสมัยนั้นว่าการยกดินแดน
มลายูให้อังกฤษนั้น จะทำให้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับดินแดนเหล่านี้หมด
การยินยอมยกดินแดนหัวเมืองมลายูทั้ง 4 อันได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส…ให้อังกฤษในครั้งนั้นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) นับว่าเป็นการยอมเสียดินแดนส่วนน้อย เพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่เอาไว้ เพื่อให้ไทยมีอธิปไตยเหนือดินแดนภาคใต้โดยสมบูรณ์ และยังผลให้ประเทศไทย..ยังเป็นดินแดน ด้ามขวานทอง…มาจนถึงทุกวันนี้แผนที่แสดงดินแดนหัวเมืองมลายูทั้ง 4 อันได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส รวมพื้นที่ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร ที่ไทยได้ยกให้อังกฤษไปตาม “สนธิสัญญากรุงเทพฯ” โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา เทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ และนายราฟ แพชยิต ราชทูตอังกฤษประจำกรุงเทพฯ เป็นผู้ลงนาม เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451
แหล่งข้อมูล: http://www.tri.chula.ac.th/triresearch/malau/malau.html, https://pantip.com/topic/31998866
You must be logged in to post a comment.