แสตมป์ฤชากร ที่ใช้ชำระค่าธรรมเนียมศาล หรือค่าธรรมเนียมที่ดิน นำมาแก้ราคาให้สูงขึ้นเป็น 3 ราคา คือราคา 10 บาท 20 บาท 40 บาท นำมาพิมพ์แก้ทับราคาด้วยหมึกสีดำ วันแรกจำหน่าย 24 เมษายน 2450 นำมาใช้เพื่อให้บริการไปรษณีย์เพื่อให้ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในกรุงสยามได้ติดต่อทำมาค้าขายกับเมืองจีน นับเป็นไปรษณีย์ของชาวจีนโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการใช้ในโพยก๊วน เป็นการรวบร่วมซองจดหมายซองหลายๆ ฉบับห่อไว้ในห่อเดียวกัน ผนึกดวงตราไปรษณีย์ จ่ายเป็นค่าธรรมเนียม คิดตามห่อ ที่ห่อจดหมายหลายฉบับแล้วติดแสตมป์ไป ตามราคา อาจจะ 10 บาท 20 บาท 40 บาท สมัยรัชกาลที่ 5 เงินราคานี้สูงมากเพราะเงิน 1 สตางค์จับจ่ายซื้อของได้มากมาย ห่อโพยก๊วนนี้ส่งไปทางเรือไปเมืองจีน

ซองตราไปรษณียากรชนิด 15 สตางค์ ที่กรมไปรษณีย์สยามจัดพิมพ์ให้ใช้ส่งโพยแทนซองธรรมดา มีตราประทับที่ทำการไปรษณีย์ที่ 8

ซองโพยก๊วนซองนี้ประทับตราประจำวันจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่ 8


ซองติดตราไปรษณียากรพระบรมรูป ร.9 ชุดที่สอง
เนื่องด้วยกรมไปรษณีย์ฯ ได้เปิดไปรษณีย์ที่ 8 ขึ้นที่เยาวราชเพื่อรับฝากไปรษณีย์ภัณฑ์ไปประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ โดยเปิดตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2450 ปรากฏว่า ชาวจีนนำส่งไปรษณียภัณฑ์เป็นจำนวนมาก บางห่อมีจดหมายสูงถึง 750 ฉบับ จึงต้องใช้แสตมป์ราคาสูงปิดไป แต่ในขณะนั้นแสตมป์ราคาสูงที่สุดมีเพียง 1 TICAL (1 บาท) และแสตมป์ราคาสูงยังไม่ได้พิมพ์มาใช้
อ่านเพิ่มเติม “แสตมป์ฤชากร แก้ราคา 10, 20 และ 40 Tical” →
You must be logged in to post a comment.