แหล่งข้อมูลอากรแสตม์ไทย

การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอากร แสตมป์ จะได้มาจากการศึกษาค้นคว้าจากสื่อข้อมูลความรู้ต่างๆ ซึ่งต้องขอขอบคุณแหล่งข้อมูลเหล่านี้  ได้แก่

  • ตำนานไปรษณีย์ไทย พ.ศ. 2231-ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว; อาณัฐชัย  รัตตกุล
  • ตำนานแสตมป์ไทยสำหรับนักสะสม; พ.ต.อ. นายแพทย์พิพัฒน์ ชูวรเวช
    หนังสือที่รวบรวมเรื่องราวความเป็นมาของแสตมป์ไทยไว้อย่างละเอียด. จัดทำเป็นพิเศษเนื่องในวาระครบรอบ. 120 ปีแสตมป์ไทย
  • จุลพิพิธภัณฑ์ส.สินชัย
  • Revenue Stamps of Thailand (อากร แสตมป์ ไทย); Perter K. Iber, Second edition, 1997
  • Thailand Philatelic Handbook volume 8 –  THAI REVENUE STAMP CHECKLIST 2009 Third Edition/2019 Eighth Edition; H. R. Blakeney & Jos Sanders
  • THAILAND The Waterlow Proof Sheets 1917-1960, By Perter Collins
  • Fb กลุ่มสะสมสะแสตมป์มือใหม่

images  revenue-stamps-thailand  1g  Revenue-Stamp-handbook-Thailand-2019-in-color ThaiWat

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

  • revenue :: รายได้ของรัฐซึ่งได้จากภาษีอากรและค่าธรรมเนียม
  • stamp :: ดวงตราไปรษณียากร; แสตมป์ ; postage
  • revenue stamp :: อากรแสตมป์
  • อากร :: ค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บ เช่น อากรรังนก อากรมหรสพ
  • อากรแสตมป์ :: ดวงตราที่ปิดทับ ดุนหรือพิมพ์บนกระดาษ เพื่อใช้เป็นค่าอากรตามประมวลรัษฎากร
  • แสตมป์พิมพ์แก้ (overprint) :: แสตมป์ของเดิมที่มีอยู่แล้วแต่นำมาพิมพ์เพิ่มเติมบางอย่างลงบนตัวแสตมป์
  • พิมพ์แก้ราคา (surcharge) :: เป็นการนำแสตมป์ราคาหนึ่งมาแก้ไขเป็นอีกราคาหนึ่ง ใช้กรณีที่ไปรษณีย์ขาดแคลนแสตมป์บางราคา หรือมีการปรับเปลี่ยนหน่วยเงินตรา และใช้งานระหว่างที่รอแสตมป์ราคาที่ขาดแคลนพิมพ์เสร็จ แสตมป์พิมพ์แก้พบมากในแสตมป์ยุคแรก ๆ เนื่องจากการพิมพ์และการขนส่งใช้เวลานาน
  • แสตมป์ตลก (error หรือ variety) :: เป็นแสตมป์ที่มีความผิดปกติระหว่างการพิมพ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นด้วยความบังเอิญเพียงบางแผ่น เช่น หมึกเลอะ, ปรุรูเคลื่อน, พิมพ์ซ้ำ หรือเกิดจากรอยตำหนิบนแม่พิมพ์ ซึ่งมีผลให้แสตมป์ตรงตำแหน่งดังกล่าวของทุกแผ่นมีความผิดพลาดทั้งหมด แสตมป์ตลกสามารถใช้งานได้จริงทางไปรษณีย์ และเป็นที่นิยมสะสมโดยแสตมป์ตลกบางดวงมีค่ามากกว่าแสตมป์จริงเสียอีกเพราะมีปริมาณน้อยมาก
  • การปรุรู (perforation) :: การเจาะรูเล็ก ๆ รอบดวงแสตมป์เพื่อให้สะดวกแก่การฉีกแสตมป์ออกมาจากแผ่นเป็นดวง ๆ และเมื่อฉีกออกจากแผ่นแล้ว จะปรากฏรอยหยักบนขอบแสตมป์ที่เรียกว่า ฟันแสตมป์ (perfs หรือ teeth)
  • imperforate :: แสตมป์ที่ไม่มีการปรุรู
  • ฟันแสตมป์ :: รอยฉีกที่กิดจากการปรุรู รอบดวงแสตมป์เพื่อเพิ่มความสะดวกในการฉีก
  • การวัดขนาดฟันแสตมป์ :: วิธีการวัดแบบมาตรฐานที่ใช้ในวงการแสตมป์ วัดจากจำนวนฟัน หรือ รู ในช่วงระยะสองเซนติเมตร ตัวอย่างเช่น ฟันขนาด 12 หมายถึงมีฟัน 12 ซี่ใน 2 เซนติเมตรทั้งแนวตั้งและแนวนอน แต่ถ้าขนาดฟันในแต่ละแนวไม่เท่ากัน จะระบุทั้งสองค่า เช่น ฟันขนาด 13×11 หมายถึงแนวนอนมี 13 ซี่ และแนวตั้ง 11 ซี่ในระยะดังกล่าว
    – ขนาดของฟันแสตมป์โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณระหว่าง 11 จนถึง 16 ถ้าฟันห่างเกินไปจะทำให้ฉีกแสตมป์ออกจากกันยาก แต่ถ้าถี่เกินไปจะทำให้แสตมป์แยกออกจากกันง่ายแม้ไม่จงใจจะฉีก- เพื่อความสะดวกในการวัดขนาดของฟัน หลายบริษัทมีการผลิต มาตรวัดฟันแสตมป์ (perforation gauge) สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกบาง บนแผ่นมีการพิมพ์ลวดลายการปรุของฟันแต่ละขนาดเอาไว้ เวลาวัดก็เอาแสตมป์ทาบกับแผ่นพลาสติกนี้เพื่อดูว่าฟันแสตมป์ตรงกับลวดลายขนาดใด
  • ลายน้ำ (watermark) คือภาพที่สามารถสังเกตได้ในกระดาษ โดยปรากฏเป็นสีจางกว่าเมื่อนำกระดาษมาส่องผ่านแสง และเป็นสีทึบเมื่อนำกระดาษมาทาบบนวัสดุสีเข้ม ลายน้ำถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) ที่เมืองโบโลญญา ประเทศอิตาลี ซึ่งช่างทำกระดาษใช้เป็นเครื่องหมายบอกผลิตภัณท์ของตน ลายน้ำยังใช้บนแสตมป์ เงินตรา หรือเอกสารทางราชการอื่น ๆ เพื่อป้องกันการปลอมแปลง  ลายน้ำถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งบนแสตมป์ มักใช้แยกความแตกต่างของแสตมป์ที่พิมพ์รุ่นต่าง ๆ ปัจจุบันมีการใช้ลายน้ำน้อยลง และมีการใช้วิธีอื่นในการป้องกันการปลอมแปลงมากขึ้น เช่น การใช้กระดาษที่ฝังด้ายสี (granite paper) หรือใช้หมึกที่เรืองแสงเมื่อส่องด้วยแสงอัลตราไวโอเลต เป็นต้น
  • ฮินจ์ (stamp hinge) :: เป็นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแผ่นเล็ก ๆ พับครึ่ง และฉาบด้วยกาวบาง ๆ เป็นอุปกรณ์การสะสมแสตมป์ในสมัยก่อน ซึ่งค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยอัลบั้มแสตมป์แบบเสียบซึ่งถูกคิดค้นในเวลาต่อมา  ฮินจ์ในอดีตกาวของฮินจ์จะติดแน่นอยู่กับแสตมป์ สำหรับแสตมป์ใช้แล้วสามารถลอกเอาฮินจ์ออกโดยการแช่น้ำให้กาวละลายและลอกเอาฮินจ์ออกมา แต่สำหรับแสตมป์ที่ยังไม่ได้ใช้การแช่น้ำจะทำให้กาวแสตมป์ละลายออกมาด้วย จึงมักปล่อยฮินจ์ส่วนที่ติดด้านหลังแสตมป์ทิ้งไว้ แสตมป์ไม่ใช้ส่วนใหญ่รุ่นเก่า ๆ มักพบรอยฮินจ์นี้
  • กาวแสตมป์ เป็นสารที่เคลือบอยู่ด้านหลังดวงแสตมป์เพื่อความสะดวกในการติดบนจดหมาย กาวจะติดได้ก็ต่อเมื่อเอาน้ำลูบบนกาว  ในอดีตจะนิยมฉาบกาวบนด้านหลังแสตมป์หลังจากที่แสตมป์ผ่านการพิมพ์แล้วแต่ยังไม่ปรุรู แต่ปัจจุบันจะใช้กระดาษที่ฉาบกาวไว้แล้วมาพิมพ์แล้วปรุรู สมัยแรก ๆ การฉาบกาวต้องทำด้วยมือโดยใช้แปรงหรือลูกกลิ้งจุ่มลงในกาวแล้วทาบนกระดาษ การฉาบกาวด้วยเครื่องพิมพ์ถูกคิดค้นภายหลังในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) โดยบริษัท เดอ ลา รู (De La Rue)
  • ตราประทับ (postal marking) ในทางไปรษณีย์ หมายถึงการทำเครื่องหมายต่าง ๆ ลงบนซองจดหมาย หรือ สิ่งอื่นที่ส่งทางไปรษณีย์
    – ตราประจำวัน (postmark หรือ date stamp) ซึ่งแสดงชื่อที่ทำการไปรษณีย์ และวันเดือนปีที่ประทับ โดยไปรษณีย์ต้นทางจะประทับตราลงบนดวงแสตมป์โดยมีวัตถุประสงค์คือ เป็นการทำเครื่องหมายขีดฆ่า (cancel หรือ cancellation) ป้องกันการนำแสตมป์กลับมาใช้ใหม่